หากคุณเบื่อสีรถยนต์สีเดิมที่มาจากโรงงาน คุณสามารถเปลี่ยนสีใหม่ได้ตามใจชอบ แต่อย่าลืมว่า แจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ใหม่ ต้องไปแจ้งที่กรมขนส่งทางบก ภายในเวลาที่กำหนด ไม่เช่นนั้นอาจผิดกฎหมาย ถูกปรับได้ และนี่คือ ขั้นตอนการจดแจ้งให้ถูกต้อง พร้อมเอกสารที่ต้องเตรียม!
กฎหมายการจดแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์
-
- การเปลี่ยนสีรถที่ต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบก คือ การเปลี่ยนสีตัวถังมากกว่า 30% ของพื้นที่รถทั้งหมด กรณีที่เข้าข่ายแน่นอนคือ การเปลี่ยนสีกระโปรงหน้าหรือกระโปรงหลัง ยกเว้น การสีคาดหรือแถบคาดที่ใช้ตกแต่งรถโดยไม่ทำให้สีหลักของรถเปลี่ยนไป ไม่จำเป็นต้องแจ้งเปลี่ยนสี
- ต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถใหม่ ไม่ว่าจะเปลี่ยนสีด้วยวิธีใด รวมถึงการติดสติกเกอร์ ติดฟิล์ม หรือที่เรียกว่าแรป (Wrap) สีรถ หรือการติดคาร์บอนเคฟล่า หรือวัสดุอื่นๆ
- ต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถใหม่ที่กรมขนส่งทางบก ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่เปลี่ยนสี ไม่เช่นนั้นถือว่ามีความผิดตามพรบ.รถยนต์ มาตรา 60 ต้องโทษปรับ สูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท
หากไม่แน่ใจว่ารถยนต์ของคุณต้องจดแจ้งเปลี่ยนสีหรือไม่ คุณสามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่กรมขนส่งโดยตรงได้ ไม่ควรคาดเดาเอง เพื่อความปลอดภัยไม่โดนจับปรับ
อ่านเรื่อง สีรถถูกโฉลก ต่อได้ที่นี่
การกำหนดสีรถยนต์ตามหลักเกณฑ์ของกรมขนส่งทางบก
กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดสีรถเอาไว้ดังนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและเพื่อให้ระบุได้อย่างชัดเจนในเอกสารคู่มือจดทะเบียนรถ
1 สี
1 สี คือรถที่มีสีเดียว ไม่ว่าสีเดียวนั้นจะมีความเข้มของสีแตกต่างกัน ให้กำหนดสีที่เป็นสีหลักสีเดียว เช่น รถสีขาว รถสีแดง
2 สี หรือ 3 สี
2 สีหรือ 3 สี คือรถที่มีสีแตกต่างกันชัดเจนที่บริเวณตัวถัง เช่น ฝากระโปรง ฝากระโปรงหลัง หลังคา ประตู ให้กำหนดเป็น 2 สีหรือ 3 สี
มากกว่า 3 สี
มากกว่า 3 สี คือรถที่มีสีมากกว่า 3 สี ให้กำหนดสีหลัก 2 สีและตามด้วยคำว่า ‘หลากสี’ แต่หากไม่สามารถระบุสีหลักได้ ให้ระบุว่า ‘หลากสี’ เช่น ‘สีขาวดำ หลากสี’ หรือ ‘สีเขียว หลากสี’ หรือ ‘หลากสี
สีหรือแถบคาดใช้แต่งรถ
สีหรือแถบคาดใช้แต่งรถ หากว่าแถบคาดนี้ไม่ทำให้สีหลักของรถเปลี่ยนไป ให้ระบุเป็นสีเดียวตามสีหลักของรถ เช่น สีแดง
เอกสารที่ใช้ในการแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์
- เอกสารคู่มือจดทะเบียนรถ (เล่มทะเบียนรถ)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ
- หลักฐานการเปลี่ยนแปลงสีรถยนต์ เช่น ใบเสร็จค่าจ้างทำสีใหม่ ภาพถ่ายรถยนต์ก่อนและหลังทำสีใหม่
กรณีที่รถติดไฟแนนซ์อยู่ ไม่สามารถใช้เล่มทะเบียนรถตัวจริงได้ ให้ใช้สำเนาเล่มทะเบียนรถแทน และต้องแจ้งให้ไฟแนนซ์แก้ไขข้อมูลภายในเล่มทะเบียนหลังจากมีการเปลี่ยนสีรถแล้ว
ขั้นตอนการแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์
การแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ทำได้ที่กรมขนส่งทางบกทั่วประเทศไทย และที่บริการ Drive Thru Service ที่กรมขนส่งทางบก จตุจักร ซึ่งเพิ่มความสะดวกเป็นพิเศษ ไม่ต้องจอดรถ สามารถขับรถเข้าไปใช้บริการได้เลย ในวันและเวลาทำการ
- ยื่นคำขอพร้อมเอกสารและหลักฐานการขอแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ เพื่อขอนำรถเข้ารับการตรวจสอบกับกรมขนส่ง
- นำรถไปตรวจสอบกับกรมขนส่ง
- หลังผ่านการตรวจสอบแล้ว ให้ยื่นผลผ่านการตรวจสอบรถพร้อมคำขอต่าง ๆ อีกครั้ง
- ชำระค่าธรรมเนียม
- รับใบเสร็จและเอกสารคืน
นึกถึงเงินก้อน ต้อง สบายใจแคปปิตอล
ค่าธรรมเนียมในการแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์
ค่าธรรมเนียมในการแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ทั้งหมดอยู่ที่ 105 บาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
- ค่าธรรมเนียมการแจ้งเปลี่ยนสีรถ 50 บาท
- ค่าดำเนินการตรวจสอบสภาพรถโดยกรมขนส่งทางบก 50 บาท
- คำค่าขอ 5 บาท
สรุป
นอกจากการเปลี่ยนสีรถยนต์แล้ว หากคุณต่อเติมแก้ไข ดัดแปลงรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถยนต์จนผิดจากรายการที่จดทะเบียนไว้ เช่น การติดตั้งโครงหลังคาหรือโครงเหล็กด้านข้างรถ เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง คุณต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพและแจ้งแก้ไขรายละเอียดในเอกสารคู่จดทะเบียนรถเช่นกัน
อ่านเรื่องสีรถกันไปแล้ว คุณสามารถตามไปอ่านเรื่องสีป้ายทะเบียนรถ สีฟุตบาท และพบกับเกร็ดน่ารู้และเคล็ดลับเกี่ยวกับรถยนต์ได้ที่เว็บไซต์ สบายใจ แคปปิตอล ซึ่งรวบรวมความรู้ทั้งในเรื่องการเงิน การบริหารเงิน สินเชื่อ ประกัน พรบ. และเคล็ดลับเรื่องรถยนต์ อัปเดตใหม่เป็นประจำ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Line : @sabuyjai.capital
เฟสบุ๊ค : สบายใจ แคปปิตอล by เซ่งหลีไถ่
โทร 066-051-0101
บทความล่าสุด
ผ่อนบ้านครบ 3 ปี ต้องรีไฟแนนซ์ เพื่อประหยัดดอกเบี้ย!
เพราะการผ่อนบ้านคือภาระชิ้นใหญ่ สบายใจ...
พาส่องทริค ปลดหนี้ได้เร็วขึ้น
หนี้สินเป็นอะไรที่ไม่มีใครอยากจะเป็น...
อย่าเข้าใจผิด พรบ.กับภาษี ไม่ใช่อันเดียวกัน
สำหรับคนที่มีรถ...