ตามกฎหมายแล้ว บุคคลทุกคนที่มีรายได้ไม่ว่าจะมาจากงานประจำ อาชีพอิสระ หรืออื่นๆ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยรายได้ที่นำมาคำนวณภาษี ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เงินได้จากการประกอบอาชีพอิสระ เงินได้จากการถือหุ้น เงินได้จากการเช่าทรัพย์สิน เป็นต้น

เงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี?

หลายคนอาจมีคำถามเงินเดือนต้องเท่าไหร่ถึงจะเสียภาษี? ขึ้นอยู่กับอัตราขั้นต่ำของเงินเดือนที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งการเสียภาษีจะไม่ได้เอารายได้มาคำนวณ แต่เราจะคิดจากรายได้ทั้งหมดแล้วค่อยนำมาหักค่าใช้จ่ายรวมถึงค่าลดหย่อนทีหลังจึงกลายเป็น “เงินได้สุทธิ” นั่นแหละค่ะ คือ สิ่งที่ต้องนำมาคำนวณภาษี

 

เสืยภาษี เครื่องคิดเลข เหรียญ

วิธีคำนวณภาษี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคำนวณจากรายได้สุทธิ ซึ่งหมายถึง รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ โดยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะแตกต่างกันไปตามช่วงรายได้ดังนี้

รายได้สุทธิ (บาท) อัตราภาษี
ไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี
ตั้งแต่ 150,001 บาท – 300,000 บาท 5%
ตั้งแต่ 300,001 บาท – 500,000 บาท 10%
ตั้งแต่ 500,001 บาท – 750,000 บาท 15%
ตั้งแต่ 750,001 บาท – 1,000,000 บาท 20%
ตั้งแต่ 1,000,001 บาท – 2,000,000 บาท 25%
ตั้งแต่ 2,000,001 บาท – 5,000,000 บาท 30%
ตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป 35%

การยื่นภาษี

ผู้ที่มีรายได้ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถยื่นภาษีได้ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป โดยสามารถยื่นภาษีได้ 3 ช่องทาง ได้แก่

– ยื่นภาษีผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร  ซึ่งขั้นตอนในการยื่นนั้นง่ายมาก! คลิกเพื่อดูรายละเอียด

– ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax ดาวน์โหลด

– ยื่นภาษีด้วยตนเองที่กรมสรรพากร

 

สรุป

หากมีเงินเดือนเฉลี่ยเดือนละไม่เกิน 26,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ทุกคนที่มีรายได้ต้องยื่นภาษีนะคะ แต่สำหรับใครเงินเดือนเกินแต่อยากยกเว้นภาษี ก็สามารถทำได้เช่นกัน ด้วยการลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว หรือค่าลดหย่อนอื่นๆ อย่างเช่น ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ติดตามข่าวสารจากสบายใจ แคปปิตอลได้ที่ เฟสบุ๊ค สบายใจ แคปปิตอล by เซ่งหลีไถ่