อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการลดภาระดอกเบี้ย หรือขยายเวลาการชำระ คือ รีไฟแนนซ์ ซึ่งจะทำให้มีเงินก้อนใหม่เพื่อปิดยอดหนี้สินเชื่อเดิม แล้วนำเงินก้อนใหม่ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ใช้จ่ายฉุกเฉิน เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน หรือลดดอกเบี้ย แต่หลายคนยังไม่ทราบว่าการรีไฟแนนซ์ก็มีค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบเหมือนกัน สบายใจได้รวบรวมการเตรียมตัว รีไฟแนนซ์มาให้ทราบกัน

ข้อดีของการ รีไฟแนนซ์รถ

  • ช่วยประหยัดดอกเบี้ยได้
  • เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
  • ได้วงเงินกู้ใหม่เพิ่มขึ้น

รีไฟแนนซ์รถ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

1. ค่าจัดสินเชื่อ

ค่าจัดสินเชื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บโดยธนาคารหรือผู้ให้บริการ  เป็นค่าดำเนินการในการยื่นขอสินเชื่อใหม่ คิดเป็นประมาณ 1% ของวงเงินกู้ ค่าจัดสินเชื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวเมื่อเริ่มดำเนินการรีไฟแนนซ์รถ ธนาคารหรือผู้ให้บริการ จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายนี้เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายในกระบวนการอนุมัติสินเชื่อ เช่น การตรวจสอบเครดิต เป็นต้น

2. ค่าปรับกรณีคืนเงินกู้ก่อนกำหนด

ค่าปรับกรณีคืนเงินกู้ก่อนกำหนดเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากธนาคารหรือผู้ให้บริการเดิม ในกรณีที่ผู้กู้ปิดยอดหนี้สินเชื่อเดิมก่อนครบกำหนด โดยคิดเป็นอัตราไม่เกิน 2% ของวงเงินกู้ ธนาคารหรือผู้ให้บริการเดิมจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายนี้เพื่อชดเชยการสูญเสียดอกเบี้ยที่จะได้รับหากผู้กู้ผ่อนชำระจนครบกำหนด (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร)

3. ค่าอากรแสตมป์

ค่าอากรแสตมป์เป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บโดยกรมสรรพากร คิดเป็น 0.5% ของวงเงินกู้

4. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าจิปาถะ ที่นอกเหนือจากการ รีไฟแนนซ์รถ แต่ก็แฝงมาในขั้นตอนการรีไฟแนนซ์ เช่น ค่าเสียเวลา ค่าเดินทาง ค่าน้ำมันรถ ค่าอาหารการกิน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าการดำเนินการว่าใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ซึ่งขึ้นอยู่กับการวางแผนเตรียมตัวของคุณด้วย

เซ็นเอกสาร รีไฟแนนซ์รถ

เอกสารที่ต้องใช้ ในการรีไฟแนนซ์รถ

  1. เอกสารส่วนบุคคล เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน 
  2. เอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน เอกสารแสดงรายได้อื่นๆ เช่น ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร เป็นต้น
  3. เอกสารแสดงที่มาของทรัพย์สิน เช่น ทะเบียนรถเล่มจริง
  4. เอกสารอื่นๆ เช่น ใบประเมินราคารถยนต์ ใบเสียภาษีรถยนต์ ใบตรวจ ตรอ.

เอกสารและข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินสามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อใหม่ได้ โดยผู้กู้ควรเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการอนุมัติสินเชื่อ

อยาก รีไฟแนนซ์รถ แต่ยังผ่อนไม่หมด ทำได้หรือไม่

การรีไฟแนนซ์รถ สามารถทำได้ แม้ผู้กู้ยังผ่อนชำระไม่หมด
แต่มีเงื่อนไขว่า ผู้กู้จะต้องผ่อนมามากกว่าครึ่งนึงของสัญญาแล้ว เช่น ผู้กู้ทำสัญญาว่าผ่อนชำระทั้งหมด 24 งวด ผู้กู้ชำระมาแล้ว 12 งวด  ก็สามารถยื่นรีไฟแนนซ์ได้ และราคาประเมินรถต้องมากกว่ายอดปิด เช่น หากยอดหนี้คงค้างของผู้กู้อยู่ที่ 100,000 บาท ราคาประเมินรถจะต้องมากกว่า100,000 บาท จึงจะสามารถรีไฟแนนซ์รถได้

จากนั้นจึงยื่นขอสินเชื่อใหม่จากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ในการยื่นขอสินเชื่อใหม่ ผู้กู้จะต้องแจ้งให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ทราบถึงยอดหนี้คงค้างเดิม เพื่อที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่จะได้คำนวณวงเงินสินเชื่อใหม่ให้เหมาะสมให้

บทสรุป

การรีไฟแนนซ์รถ เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการลดดอกเบี้ยหรือเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ผู้กู้ควรศึกษาข้อมูลและเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ก่อน   และสามารถเข้าไปสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line @sabuyjai.capital หรือโทร 066-051-0101 ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะมีพนักงานคอยช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อรถ สินเชื่อรีไฟแนนซ์รถ ของสบายใจ แคปปิตอล พร้อมข้อมูลสำคัญที่ช่วยในการประกอบการตัดสินใจ ทั้งวงเงินจัดสูงสุด ดอกเบี้ย รุ่นรถ อายุรถ